Product
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ข่าวสารบัญชี - การเงิน - ภาษี

ทิศทางการท่องเที่ยวไทยหลังประสบภัยน้ำท่วม

สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย

น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเป็นวงกว้าง คลอบคลุมทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคบริการซึ่งมีการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก แม้ว่า ณ ขณะนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางไดค้ ลี่คลายลงแล้วหลายธุรกิจทยอยกลับมาผลิต อีกครั้ง แต่สำหรับการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทหี่ ดตัวรุนแรงจะฟื้นตัวอย่างไร รวมถึงแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2555 จะเป็นเช่นไร เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำมากล่าวถึง ในบทความชิ้นนี้

ประเด็นแรก ภาคการท่องเที่ยวมีความเป็นไปได้สูงที่จะฟื้นตัวได้ในเดือนมกราคม 2555 เพราะน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงมากนักต่อแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นจุดขายของไทย ทั้งนี้ จากการศึกษา การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในต่างประเทศทเี่ คยประสบปัญหาวิกฤตน้ำท่วม พบว่า หากน้ำท่วมไม่ได้เกิดร่วมกับพายุหรือวาตภัย ซึ่งไม่ทำลายสิ่งก่อสร้างและทุนทางธรรมชาตมิ ากนัก จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้ามาไดห้ ลัง น้ำลด เช่น กรณีน้ำท่วมที่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากในปี 2548 ที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเทียบเคียงกับกรุงเทพ พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวทันทีในเดือนถัดไปหลังปัญหาน้ำที่ท่วมขังนานกว่า 7 สัปดาห์ คลี่คลายลง เหตุผลประการที่สองคือ น้ำท่วมกระทบความเชื่อมั่นและบรรยากาศการท่องเที่ยวไม่มากนัก เนื่องจากเป็นภัยที่สร้างความวิตกกังวลด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยกว่าปัญหาการก่อการร้ายและเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมา สะท้อนจากระดับการแจ้งเตือนภัยการเดินทางเข้าประเทศไทยที่ครั้งนี้ประเทศส่วนใหญ่แจ้งเตือนให้ “ นักท่องเที่ยวพิจารณาความจำเป็น ในการเดินทาง ” ซึ่งถือว่าเป็นคำเตือนที่รุนแรงระดับหนึ่ง แต่ยังน้อยกว่ากรณีความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ประเทศส่วนใหญ่แจ้งเตือนว่า “ ไม่ควรเดินทาง ” นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่างชาติในอดีต ที่พบว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม้การท่องเที่ยวของไทยต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งโรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาความไม่สงบทางการเมือง แต่ก็เป็นภาคธุรกิจที่สามารถฟื้นตัวได้ ในระยะเวลาอันสั้นทุกครั้ง เช่น ปี 2548 ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดมรณะ และกรณีการปิดสนามบิน ในปี 2551 ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้าสู่ระดับเดิมในช่วงเวลา 3 เดือน และ 1 เดือน ตามลำดับ

การคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลจำนวนนักท่องเทยี่ วเบื้องต้นของกรมการท่องเที่ยวที่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยจำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวเพียงร้อยละ 2.5 จากที่เคยหดตัวรุนแรงกว่าร้อยละ 18.0 ในเดือนพฤศจิกายน จึงมีความเป็นไปได้ที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับสู่ระดับเดิมก่อนน้ำท่วมได้ในเดือนมกราคมนี้

ประเด็นที่สอง หลังจากที่ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวจากวิกฤตน้ำท่วมแล้วก็คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2555 ก็น่าจะยังคงขยายตัวต่อไปได้ ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่ อย่างอาเซียน จีน อินเดีย รัสเซียและเกาหลี ที่มีสัดส่วนรวมสูงราวร้อยละ 50.0 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งหมด เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้อาจจะชะลอลงบ้าง ตามภาวะการส่งออกในช่วงเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ ส่วนปัญหาเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่สัญญาณฟื้นตัวชัดเจน ย่อมส่งผลกระทบต่อระดับรายได้และการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้างที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ซึ่งสัดส่วนราวร้อยละ 30.0 อาจจะชะลอตัว ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่กล่าวมาจะกระทบการท่องเที่ยว ทั้งในแง่จำนวนและรายได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความพยายามของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถสร้างขยายฐานนักท่องเที่ยวจากตลาดเกิดใหม่ รวมถึงการดึงดูดนักท่องเที่ยวรายได้สูงที่มักไม่อ่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจมาทดแทน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากในประเทศจากภัยธรรมชาติ เช่น ปัญหาน้ำท่วมที่เพิ่งจบลง มีแนวโน้มเกิดบ่อยครั้งขึ้นจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน โจทย์นี้ยังคงรอคำตอบถึงระบบการบริหารจัดการกับภัยพิบัติเพื่อบรรเทาความเสียหายทั้งในช่วงวิกฤตและหลังเกิดวิกฤต รวมถึงระบบการป้องกันที่ยั่งยืนในอนาคตหมายเหตุ : จำนวนนักท่องเที่ยวในบทความนี้ หมายถึงจำนวนนักท่องเที่ยวหลังขจัดปัจจัยฤดูกาล

เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 มกราคม 2555


HOME    ::    PRODUCT    ::    DOWNLOAD   ::    WEBBOARD    ::    CONTACT

BRIGHT & BRIGHTER CO,. LTD. @ 2009. All rights Reserved www.Stats.in.th