Product
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ข่าวสารบัญชี - การเงิน - ภาษี

SMEs ตอบโจทย์เศรษฐกิจไทย 28 มิ.ย. 2555


SMEs มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ธุรกิจ SMEs เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะ SMEs มีสัดส่วนเป็น37% ของ GDP ประเทศ หรือคิดเป็นมูลค่า 3.7 ล้านล้านบาท ในปี 2553 ประเทศไทยมีกิจการวิสาหกิจทั้งสิ้น 2.9 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ประกอบการ SMEs 2.89 ล้านราย โดยผู้ประกอบการ SMEs เป็นผู้ว่าจ้างงาน 10.5 ล้านราย หรือประมาณ 70% ของการจ้างงานรวม แม้ประเทศไทยจะมีธุรกิจขนาดใหญ่อยู่หลายแห่ง แต่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่า SMEs เป็น Supplier ส่งของให้ธุรกิจขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อาหาร ท่องเที่ยว หรือบริการ ก็จะมี SMEs เป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ตลอดสายการผลิต (Supply Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ดังนั้นประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจพัฒนาจากประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยระดับกลาง เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยระดับสูงได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของ SMEs เป็นสำคัญ

 

การเข้าถึงบริการทางการเงินของ SMEs

ในปี 2554 สถาบันการเงินมีการขยายตัวของสินเชื่อ SMEs เพิ่มขึ้น 4.4 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว 15% สูงกว่าอัตราการขยายตัวของสินเชื่อรวม สินเชื่อ SMEs มีสัดส่วนเป็น 34% ของยอดสินเชื่อรวม ปัจจุบันสินเชื่อ SMEs มียอดคงค้าง 3.3 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม SMEs ยังมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มอีกมาก แต่ธนาคารพาณิชย์มีข้อจำกัดในการให้สินเชื่อแก่ SMEs เพราะการวิเคราะห์สินเชื่อต้องใช้กำลังคนและเวลานานมาก เนื่องจากไม่มีข้อมูลรายได้ รายจ่ายที่น่าเชื่อถือ งบการเงินของ SMEs จะแสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่เสมอ เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จึงต้องปรับตัวเลขรายได้ของ SMEs ให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์สินเชื่อสูง ขณะที่วงเงินสินเชื่อที่ให้แก่ SMEs ส่วนใหญ่ก็ไม่มากนัก ประมาณ 1 แสนบาทถึง 10 ล้านบาท จึงไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถประมาณรายได้แท้จริงที่ SMEs จะนำมาชำระหนี้ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้แล้ว จึงต้องพึ่งพาหลักประกันเพียงอย่างเดียว เมื่อผู้ประกอบการกู้ยืมจนเต็มมูลค่าหลักประกันแล้วก็กลายเป็นข้อจำกัดทำให้ SMEs ขนาดย่อมที่มีศักยภาพขยายตัวเป็นกิจการขนาดกลางไม่ได้ ปัจจุบัน SMEs ขนาดกลางมีเพียง 2 หมื่นราย ขณะที่ SMEs ขนาดย่อมมีถึง 2.89 ล้านราย แหล่งเงินทุนสำคัญของ SMEs นอกจากธนาคารพาณิชย์แล้ว ยังมีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ทำหน้าทื่เ พื่อการพัฒนาช่วยเหลือและสนับสนุน บริการทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs ไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาด 3% นอกจากนี้ ยังมีบรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ( บสย.) ที่ได้เริ่ม เข้ามามีบทบาทสำคัญในการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ในชว่ งเกิดวิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ โดย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ บสย . ค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา วงเงินค้ำประกันรวม 96,000 ล้านบาท ซึ่ง บสย. ได้ค้ำประกันไปแล้วจนถึงสิ้นปี 2554 ประมาณ 95,000 ล้านบาท แม้ว่าการค้ำประกันของ บสย . จะช่วย SMEs ให้ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ก็ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการสินเชื่อ SMEs ที่มีทั้งประเทศ โดยในปี 2554 สถาบันการเงินเอกชนมีการให้ สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs รวม 3.3 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อ SMEs ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.4 แสน ล้านบาท ในช่วงเวลา 1 ปี ในขณะที่ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้เพียง 2.9% ของยอด สินเชื่อ SMEs รวม

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ SMEs ไทย

ณ สิ้นปี 2554 ผู้ประกอบการ SMEs ที่ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินในระบบมีทั้งสิ้น 1.03 ล้านรายคิดเป็นสัดส่วน 35% ของ SMEs ทั้งระบบ นับว่ายังมีผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินอีกจำนวนมาก ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs ประสบความสำเร็จได้มี 2 ปัจจัยหลัก

คือ การพัฒนาศักยภาพในการชำระหนี้ (Ability to Pay) และการพัฒนาด้านการตลาดซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป สำหรับการพัฒนาศักยภาพในการชำระหนนีั้น ผู้ประกอบการควรเริ่มจากการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดก่อน หากทำได้ก็จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการเงิน และมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs ควรเร่งปรับปรุงศักยภาพของตนเองในด้านต่างๆ เช่น เพิ่มเติมความรู้ ประสบการณ์ พัฒนาแผนธุรกิจและการจัดการระบบการเงินที่ชัดเจน ปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบริการ เพิ่มศักยภาพในการทำการตลาด เป็นต้นการพัฒนาด้านการตลาดซึ่งธุรกิจ SMEs ยังมีความสามารถน้อยและมีข้อจำกัดค่อนข้างมากนั้น

ขณะนี้ภาครัฐมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ SMEs หลายหน่วยงานและกระจัดกระจาย ทำให้ความช่วยเหลือยังไม่ต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐเองก็ได้พยายามปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือ SMEsให้ต่อเนื่องมาตลอดรวมทั้งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาตลาดและการบริหารจัดการของธุรกิจ SMEs ขนาดย่อมมากขึ้น อย่างไรก็ดีพบว่ากิจการขนาดกลางมีปัญหาน้อยกว่ากิจการขนาดย่อมและขนาดจิ๋วที่ยังมีปัญหาการบริหาร

จัดการและช่องทางการทำธุรกิจ ที่ไม่เป็นระบบ หากสถาบันการเงินและภาครัฐร่วมมือกันช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้ ? SMEs กลุ่มนี้ให้มีการบริหารจัดการเป็นระบบมากขึ้น ก็จะช่วยให้สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตแข็งแรงต่อไปได้

 

สิ่งท้าทายการก้าวต่อไปของ SMEs

เมื่อได้ศึกษาผลงานวิจัยของประเทศที่ประสบความสำเร็จด้าน SMEs เช่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไต้หวันแล้ว มีประเด็นบางอย่างที่ประเทศไทยควรนำมาพัฒนาและปรับปรุงดังนี้

1) การมี One-Stop Service เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักของภาครัฐซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ให้บริการข้อมูลและคำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ SMEs การดำเนินงานของ One-Stop Service ควรมีความใกล้ชิดกับนโยบายรัฐบาล เพื่อจะได้สนับสนุนข้อมูลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เริ่มประกอบธุรกิจ

มีการบริหารจัดการที่ดี มีความรอบรู้ในธุรกิจ มีช่องทางการตลาด มีรายได้สามารถอยู่รอด และขยายกิจการต่อไปได้ ตามความเห็นของผู้เขียนหน่วยงานดังกล่าวน่าจะเทียบเคียงได้กับบทบาทหน้าที่ของ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว.) นอกจากนี้การที่หน่วยงานดังกล่าว จะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องนั้นควรมีปัจจัยอื่นๆ ของภาครัฐช่วยสนับสนุนด้วย เช่น การวางนโยบายและแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการวางรากฐานการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมสำหรับผู้ประกอบการ SMEs มีขั้นตอนอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการจนถึงขั้นตอนหาช่องทางการตลาดหรือการส่งออก มีการพัฒนาระบบการศึกษาที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น ประชาชนควรเข้าถึงสถาบันการศึกษาได้โดยสะดวกไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบปกติและสายอาชีพ ตลอดจนมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ SMEs เช่น การสร้างนิคมอุตสาหกรรม มีการส่งเสริมด้านการสำรวจและวิจัย (R&D) ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SMEs มีการให้ทุนสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทำวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้สภู่ าคธุรกิจ เป็นต้น

2) การมี Information Center เพื่อเป็นหน่วยงานที่ใหข้ ้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอและทันการณ์ อีกทั้งเป็นศูนย์รวมข้อมูลและสามารถให้คำแนะนำแก่ SMEs ได้อย่างครบถ้วนและรวดเร็ว ซึ่งInformation Center ควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลในเชิงลึก เช่น ยอดหนี้ ประเภทธุรกิจ และสถานที่ตั้งตามรหัสของกรมการปกครอง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสถาบันการเงินและผู้ประกอบการ SMEs ในการวางแผนและวางกลยุทธ์ ทั้งยังสนับสนุนและสร้างโอกาสให้ SMEs สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย ประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ข้อมูลสำหรับ SMEs แต่มีหลายหน่วยงานที่พยายามจะพัฒนาขึ้นมา เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สสว. และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

3) ภาครัฐควรเร่งผลักดันให้ พรบ. หลักประกันทางธุรกิจซึ่งขณะนี้เป็นร่างอยู่ มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำทรัพย์สินอื่นมาจดทะเบียนเป็นหลักประกันได้มากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น สิทธิการเช่า หรือสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องหลักประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อได้ช่วยใหธุ้รกิจ SMEs ที่มีศักยภาพ สามารถอยู่รอดและเติบโตได้

 

เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 - 30 มิถุนายน 2555

 

 

 

 


HOME    ::    PRODUCT    ::    DOWNLOAD   ::    WEBBOARD    ::    CONTACT

BRIGHT & BRIGHTER CO,. LTD. @ 2006. All rights Reserved